โครงการพัฒนารูปแบบกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนภายใต้กระบวนการสมัชชาสุขภาพ

 




ถอดบทเรียนกิจกรรม

โครงการ  พัฒนารูปแบบกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนภายใต้กระบวนการสมัชชาสุขภาพ

เรื่อง “ ติดตามความก้าวหน้าสมัชชาสุขภาพพื้นที่ ครั้งที่ 1”วันที่ 22 สิงหาคม  2557

ณ ห้องประชุม เทศบาลโคกศรี ตำบลอุ่มเม่า อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

 

โดย ดร.ศิราณี    ศรีหาภาค และคณะ

 

จากการติดตามความก้าวหน้าในพื้นที่พบว่าในพื้นที่อำเภอยางตลาด ประกอบด้วย2 ตำบล

ได้แก่ ตำบลยางตลาด และ ตำบลอุ่มเม่า จังหวัดกาฬสินธ์  “ คนดี สุขภาพดี รายได้ดี”  

Kalalsin  Happiness   Modelมีข้อค้นพบดังนี้

เวลา 9.30 – 10.00 น.

1)      กิจกรรมพบผู้บริหารโรงพยาบาลยางตลาด

คุณเถลิงศักดิ์  มงคลศิป์ หัวหน้างานสุขศาลา ผู้ประสานงานของจังหวัดกาฬสินธุ์ นำไปพบกับผู้บริหารโรงพยาบาล พบว่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เคยมีประสบการณ์ ทำงานเกี่ยวกับผู้พิการ และเห็นว่าสามารถใช้ประสบการณ์จากการดูแลผู้พิการสู่การดูแลผู้สูงอายุได้ ท่านเล่าให้ฟังว่าจังหวัดกาฬสินธ์ มีตัวชี้วัดที่สำคัญที่หน่วยงานทุกหน่วยงานในพื้นที่ทำงานร่วมกันภายใต้การนำของผู้ว่าราชการจังหวัด คือ คนดี สังคมดี รายได้ดี โครงการนี้มีการกำหนดตัวชี้วัดชัดเจน และ มีการให้งบประมาณสนับสนุนโครงการจากทุกภาคส่วน ผู้อำนวยการเสนอไม่อยากให้ทำแต่ 2 ตำบล เสนอให้ทำทั้งจังหวัด โดยการประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ มี ดร.สม และ ดร.ธงชัย ดูแลอยู่ และพบว่า ผู้บริหารโรงพยาบาลยางตลาด ให้ความสนใจร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ

เวลา 10.30 – 15.00 น.

2)      ร่วมกิจกรรมนำเสนอผลงานของชมรมผู้สูงอายุเทศบาลโคกศรีและสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศ

ไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 70 คน

          ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลโคกสี เป็นชมรมผู้สูงอายุที่มีที่ทำการอยู่ที่เทศบาล ได้รับการสนับสนุนงบประมาณและกิจกรรมการดำเนินชมรมเป็นอย่างดีจากเทศบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีสมาชิก 360 คน มีกิจกรรมร่วมกันทุกเดือน เติบโตมาจากการทำฌาปนกิจสงเคราะห์ผู้สูงอายุ สมัครเป็นสมาชิกของชมรมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ มีคณะกรรมการชมรมที่เข้มแข็ง ผู้นำคือพ่อมนัส ปัจจุบันชมรมมีการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุซึ่งมีการจัดกิจกรรมได้แก่ การทำหัตกรรม เช่น ทอเสื่อ การเยี่ยมผู้สูงอายุ การออกกำลังกายผู้สูงอายุ ภายใต้การสนับสนุนจากเทศบาลโคกศรี

 

 

 

 

 

3)      กิจกรรมพบผู้บริหารเทศบาลโคกศรี ตำบลอุ่มเม่า

พบว่า นายกเทศมนตรีโคกศรี เป็นอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเก่า บ้านอยู่ติดกับเทศบาล ท่าน

ยินดีร่วมมือในโครงการ และชักชวนทีมวิทยาลัยเข้ามาทำงานร่วมกับเทศบาล ในกิจกรรมต่างๆที่เทศบาลมีอยู่ เทศบาลให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน โดยการสนับสนุนให้มีชมรมผู้สูงอายุและกลุ่มอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและสนับสนุนงบประมาณและกำลังคนจากเทศบาลโคกศรี

 

4)      กิจกรรมพบผู้นำชุมชนในเทศบาลโคกศรี ผู้อำนวยการรพ.สต.โคกศรี จำนวน 10คน

พบว่าในพื้นที่มีการดำเนินการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวอยู่ก่อนแล้ว โดย ผู้นำชุมชน คือพระภิกษุ ซึ่งเป็นเจ้าคณะตำบล และมีเครือข่ายผู้นำชุมชนที่ดำเนินกิจกรรมให้การดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ในชุมชนโดยมีเจ้าคณะตำบลเป็นที่ปรึกษา มีผู้อำนวยการรพสต.เป็นผู้ประสานงานให้การดูแลและสนับสนุนด้านความรู้ และมีผู้อำนวยการกองสาธารณสุข สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของชุมชน และในชมชนมีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากเทศบาล เดือนละ 300 บาท

 

สรุปการวิเคราะห์พื้นที่

จะพบว่าพื้นที่ตำบลอุ่มเม่าเป็นพื้นที่มีต้นทุนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว มีความพร้อมด้านการทำงานเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนภายใต้กระบวนการสมัชชาสุขภาพ เนื่องจากพื้นที่มีการดำเนินกิจกรรมการดูแลผู้สูงอุระยะยาวอยู่บางส่วน ทีมมีประสบการณ์และมีความสนใจในการดำเนินกิจกรรมโครงการ มีการทำงานในรูปของเครือข่ายทำงานในพื้นที่ที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาล โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุข และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดังนั้นความเป็นไปได้ของความสำเร็จของโครงการมีสูง

ประเด็นเสนอพิจารณาต่อ

1)      ควรมีการลงไปศึกษาพื้นที่โดยการเก็บข้อมูลเชิงลึกในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้คนที่

เกี่ยวข้องอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

2)      ประเด็นการขยายทำพื้นที่ทั้งจังหวัดเหมือนที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนนำเสนอ โดย

การประสานกับทีมของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด พิจารณาความเป็นไปได้ของงบประมาณ และ เสนอผู้บริหารพิจารณา