ชื่อโครงการงานวิจัย: สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จงหวัดขอนแก่น

ประเภทโครงการงานวิจัย: บทความวิจัย

ชื่อผู้วิจัย:

ผู้วิจัยร่วม: เพชรไสว ลิ้มตระกูล

การเผยแพร่/แหล่งเผยแพร่: วารสารสมาคมพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีที่32 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม–ธันวาคม 2557)

ปีงบประมาณที่สำเร็จ: 2557

วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำ: 0

วัน เดือน ปี ที่สำเร็จ: 2557

เอกสารประกอบ: -

บทคัดย่อ:

การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนโดยใช้กรอบแนวคิดขององค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยาย (ECCM) พื้นที่ทำการศึกษาคือ หมู่บ้านในตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 13 หมู่บ้าน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 1)ผู้ป่วย 26 คน 2)ผู้ดูแล จำนวน 24 คน และ 3) อสม. จำนวน 16 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก2) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย (BI) และ3) แบบประเมินความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง (NIHSS) 4)ประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม และ5) แบบบันทึกการสังเกต  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ความถี่ ร้อยละ และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Validity) และการวิเคราะห์แบบเมทริกซ์(Matrix analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1)ข้อมูลทั่วไป ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.5 อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 73.1 สิทธิบัตรทอง ร้อยละ 92.3 และยังไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ    ผู้พิการ ร้อยละ 65.4 และผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นสมาชิกในครอบครัว และบางแห่งมี อสม.ในการติดตามเยี่ยมบ้าน 2) ผู้ป่วยจำแนกตามระดับความรุนแรงและระดับการพึ่งพาผู้ดูแล  ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยมีความรุนแรงระดับเล็กน้อย หรือมีความบกพร่องของระบบประสาทระดับเล็กน้อย ต้องพึ่งพาผู้ดูแลในระดับเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ  61.5 (16 ราย)กลุ่มผู้ป่วยระดับปานกลางร้อยละ 23.1(6 ราย) และกลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับรุนแรงมากที่สุด มีภาวะที่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลทั้งหมด ร้อยละ 15.4 (4 ราย) และ        3) การวิเคราะห์ตามองค์ประกอบของการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังภาคขยาย ประกอบด้วย 3.1) ไม่มีนโยบายชัดเจนในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน มีเพียงภาพรวมในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั่วไป 3.2) ขาดการสนับสนุนอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการออกกำลังกายและไม่ได้ส่งเสริมการทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วย 3.3) การมีส่วนร่วมของอสม.พบว่า อสม. ส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองน้อย  3.4) การสนับสนุนการดูแลตนเอง ไม่มีความรู้ในการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และการดูแลผู้ป่วยของผู้ดูแล และ อสม.ต้องการฝึกทักษะในการทำกายภาพและความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วย

ปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนในแต่ละกลุ่มมีความต้องการการสนับสนุนการดูแลโดยการมีส่วนร่วมของ อสม. และหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่

คำสำคัญ : อาสาสมัคร การดูแล โรคหลอดเลือดสมอง